▣ ฟิล์มกรองแสงคืออะไร?
ฟิล์มกรองแสงลดความร้อน ผลิตจากพลาสติกโพลีเอสเตอร์ที่มีคุณสมบัติเหนียว ใส เรียบ ยืดหยุ่นน้อย ไม่ดูดซับความชื้น มีความทนทานต่อสภาพอากาศทั้งสูงและต่ำได้เป็นอย่างดี ในเนื้อฟิล์มกรองแสง จะมีวัสดุที่ใช้เพื่อป้องกันความร้อนและรังสียูวี โดยใช้เทคโนโลยี ในการผลิตเป็นชิ้นๆ ผสานด้วยกาวพิเศษเพื่อการยึดเกาะได้อย่างเหนียวแน่น ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าว จึงเหมาะที่จะนำไปเป็น ฟิล์มอาคาร ฟิล์มคอนโด ฟิล์มโรงแรม ฟิล์มรีสอร์ท ฟิล์มสำนักงาน ฟิล์มที่พักอาศัยและฟิล์มติดกระจกในสถานที่ต่างๆ
โดยปกติแล้วจะมีการเรียกความเข้มของฟิล์มกรองแสงว่า เป็นฟิล์มเข้มแบบ 40% 60% 80% ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ตัวเลข 40 60 80 ไม่ได้มีความหมายใดๆ ทางวิทยาศาสตร์ แต่เป็นความเข้าใจผิดของผู้บริโภคตั้งแต่สมัยก่อนที่ฟิล์มกรองแสงเข้ามายังตลาดรถยนต์เมืองไทยครั้งแรก ด้วยความที่ว่ามีตัวเลือกของความเข้มฟิล์มยังมีน้อย คนจึงเรียกฟิล์มที่มีความเข้มมากที่สุดว่าฟิล์ม 80% เข้มน้อยรองลงมาก็คือฟิล์ม 60% และเข้มน้อยสุด 40% เป็นแบบนี้เรื่อยมา จนมาถึงปัจจุบันนี้ก็ยังเรียกกันผิดๆ
ความจริงแล้วสิ่งที่เราเรียกว่า
ฟิล์มเข้ม 80 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 5 %
ฟิล์มเข้ม 60 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 20 %
ฟิล์มเข้ม 40 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 40-50 % และถ้าใสกว่านี้โดยทั่วไปก็จะเรียกว่าฟิล์มใส
ค่าแสงส่องผ่าน (Visible Light Trasmittance) ค่า VLT สูง = สามารถส่องผ่านได้มาก = ทำให้ห้องสว่าง
การสะท้อนของแสง (Visible Light Reflectance) ค่า VLR สูง = มีปริมาณปรอทมาก = แสงสะท้อนได้มาก = สามารถลดความร้อนดี
การป้องกันความร้อน (Infrared Light Rejection) ค่า IR สูง = สามารถลดความร้อนดี
การลดรังสียูวี (UV Rejection) โดยปกติฟิล์มทุกชนิดจะสามารถป้องกัน UV ได้เท่ากันคือ 99%
หลายๆ คนยังเข้าใจผิดๆว่า ฟิล์มที่มีสีเข้มหรือทึบ ช่วยลดความร้อนได้ดี ในความจริงแล้ว สีหรือความทึบของฟิล์มกรองแสงไม่ได้เป็นตัวช่วยลดความร้อน แต่กลับเป็นสารเคลือบตัวอื่นๆ ที่ทำหน้าที่หลักนี้ต่างหาก
ส่วนประกอบของความร้อนที่เราได้รับนั้นมีสัดส่วนและแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
-
ความสว่างของแสงมีสัดส่วน 44%
-
รังสีอินฟาเรด (รังสีใต้แดด) มีอยู่ 53%
-
รังสียูวี (รังสีเหนือม่วง,รังสีอุลตร้าไวโอเลต) มีอยู่ 3%
ดังนั้นฟิล์มกรองแสงที่สามารถลดความร้อนได้ดีควรจะลดรังสีทั้ง 3 ส่วนได้มากๆ
ตัวอย่างเช่น หากท่านติดฟิล์มกรองแสงที่มีความทึบแสงมากๆ แต่ฟิล์มกรองแสงนั้นๆ เป็นประเภทฟิล์มย้อมสีหรือเป็นฟิล์มกรองแสงที่ไม่ได้มีส่วนผสมของโลหะหรือ สารพิเศษใดๆ ท่านจะรู้สึกถึงความร้อนที่ผ่านชั้นผิวของฟิล์มกรองแสงเข้ามา นั่นก็คือฟิล์มกรองแสงนั้นๆสามารถลดได้แค่ความสว่างของแสงที่มีสัดส่วนอยู่ 44% แต่รังสีอินฟาเรดยังสามารถผ่านทะลุเข้ามาได้จนรู้สึกถึงความร้อน ในทางกลับกันหากท่านติดฟิล์มกรองแสงที่มีส่วนผสมพิเศษไม่ว่าจะเป็นส่วนผสม ของโลหะหรืออื่นๆ แต่ฟิล์มกรองแสงนั้นๆ มีค่าความทึบแสงน้อย(แสงส่องผ่านเข้าไปได้เยอะ) ท่านก็จะรู้สึกถึงความร้อนจากความสว่างของแสงที่ส่องผ่านฟิล์มกรองแสงเข้ามา ส่วนรังสียูวีนั้นเป็นส่วนประกอบน้อยมากของความร้อน (3%) ซึ่งฟิล์มกรองแสงเกือบทั้งหมดสามารถลดรังสียูวีได้มากกว่า 99% อยู่แล้ว
▣ ส่วนประกอบของความร้อน
ฟิลม์กรองเเสงเป็นวัสดุที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อใช้ในการควบคุมพลังงานความร้อนจากเเสงอาทิตย์ ผลิตจากพลาสติกชนิดหนึ่งซึ่งทำจากเเผ่นโพลีเอสเตอร์ต่างๆ (PVDG, Tedlar Foils Metallized Film, Acetate, PET,Polyolefins and Polycarbonates) โดยใช้เทคโนโลยีในการเคลือบชั้นฟิล์ม ต่างๆกันเช่น สี,โลหะ, กาว, สารกันรอยขีดข่วน, สารดูดซับรังสี uv ซึ่งเเผ่นโพลีเอสเตอร์เป็นวัสดุที่เหมาะต่อการผลิตฟิล์มเนื่องจากมีความเหนียว ทนทาน ยืดหยุ่นน้อย ดูดซับความชื้นน้อย เเละสามารถทนอุณหภูมิได้ทั้งสูงต่ำ ซึ่งเหมาะสำหรับการนำไปใช้เป็น ฟิล์มอาคาร ฟิล์มคอนโด ฟิล์มที่พักอาศัย และฟิล์มกระจกในที่ต่าง ๆ
ส่วนประกอบของความร้อนที่เราได้รับนั้นมีสัดส่วนและแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
- ความสว่างของแสงมีสัดส่วน 44%
- รังสีอินฟาเรด (รังสีใต้แดด) มีอยู่ 53%
- รังสียูวี (รังสีเหนือม่วง,รังสีอุลตร้าไวโอเลต) มีอยู่ 3%
สาเหตุที่ติดฟิล์มกรองแสงกันร้อน แล้วยังร้อน! เหตุผลเป็นเพราะฟิล์มกรองแสงทั่วไป กันความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้เพียงรังสี UV และแสงสว่าง (VL) เท่านั้น ซึ่งเป็นเพียง 44% ของความร้อนทั้งหมด ที่เหลือคือความร้อนจากรังสีอินฟราเรด(IR) ที่มีมากถึง 53% ดังนั้น เวลาเลือกฟิล์มกรองแสงที่กันร้อนได้จริง ต้องดูที่ค่ารังสีอินฟราเรด (IR) เป็นหลัก
▣ ประเภทของฟิล์มกรองแสง
ฟิล์มกรองแสงแต่ละชนิดเป็นเทคนิคในการผลิตซึ่งแต่ละ ชนิดจะมีคุณสมบัติทางด้านอายุการใช้งานและราคาที่แตกต่างกัน แต่ในส่วนคุณสมบัติอื่น เช่น การลดความร้อนไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก
1. ฟิล์มกรองแสงธรรมดา
ฟิล์มแบบธรรมดา จะไม่มีส่วนผสมของโลหะ หรือสารพิเศษอื่นๆ โดยจะแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ ประเภทสีผสมกาว, ประเภทย้อมสี, ประเภทสีอยู่บนเนื้อฟิล์ม, ประเภทสีอยู่ในเนื้อฟิล์ม ราคา และอายุการใช้งานก็จะต่างกันออกไป
2. ฟิล์มกรองแสงชนิดเคลือบไอโลหะ
ฟิล์มกรองแสงชนิดเคลือบโลหะ คือการนำแผ่นโลหะไปประกบกับฟิล์มแบบธรรมดา ทำให้ป้องกันรังสีอินฟาเรดได้ดี จึงทำให้ฟิล์มประเภทนี้ สามารถลดความร้อนได้เพิ่มมากขึ้น
3. ฟิล์มกรองแสงอนุภาคโลหะ
สารพิเศษหรือฟิล์มอิมฟราเรดสามารถป้องกันรังสีอินฟาเรดได้ดีกว่าปกติ ซึ่งส่วนใหญ่ ฟิล์มกรองแสงประเภทนี้มีความทึบแสงน้อย ซึ่งฟิล์มกรองแสงประเภทนี้มีราคาสูงกว่าฟิล์มกรองแสงชนิดเคลือบแสง
4. ฟิล์มกรองแสงเทคโนโลยีนาโน
สุดยอดนวัตกรรมทางด้านการผลิตฟิล์มที่เกิดขึ้นจากการคัดสรรวัตถุดิบ Nano Material หรือ Nano Particles ต่าง ๆ นำมาใช้ใน การเคลือบกับผิว Polyester ให้มีคุณสมบัติที่เหนือชั้นในแง่การป้องกันคลื่นความร้อน ( IR ) และรังสี UV ได้สูงสุดโดยสามารถป้องกัน รังสี IR ได้กว่า 90% และรังสี UV 100% โดยไม่มีลักษณะสะท้อนเงา หรือมืดทึบเกินไป อีกทั้งมีความคงทน ไม่เกิดสนิม สีไม่ซีดจาง และอายุการใช้งานที่นาน
▣ การเลือกติดฟิล์มอาคาร ต้องเลือกอย่างไร?
ข้อแนะนำในการเลือกซื้อและติดตั้งฟิล์มลดความร้อน
เนื่องจากปัจจุบันมีฟิล์มกรองแสงนับสิบแบรนด์อยู่ในตลาด ซึ่งทุกแบรนด์ต่างก็โฆษณาว่าเป็นสินค้า นำเข้าจากประเทศ แถบยุโรปและสหรัฐอเมริกา สามารถลดความร้อนได้สูง ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้เกือบ 100 % บางรายรับประกัน ตลอดอายุการใช้งานเป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถ้าฟิล์มแบรนด์นั้นมีคุณสมบัติอย่างที่โฆษณาจริง ผู้บริโภคจะได้ รับผลประโยชน์ และความพอใจที่ตรงตามความต้องการของตนเอง และคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่เสียไป ปัญหาคือจะ ทราบได้อย่างไร ว่า ข้อความที่โฆษณาเป็นจริงหรือไม่?
เราจึงขอเสนอแนะวิธีการในการเลือกซื้อฟิล์มกรองแสง โดยแบ่งเป็น 4 หัวข้อใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้
1. มาตรฐานของโรงงานผู้ผลิตฟิล์ม
2. คุณสมบัติเฉพาะของฟิล์ม ( FILM SPECIFICATION )
3. บริษัทฯผู้นำเข้า
4. ราคา
5. การทดสอบฟิล์มด้วยตัวเอง
6. เลือกร้านติดตั้ง...ฝีมือช่างต้องชำนาญ
▣ ประโยชน์ของการติดฟิล์มกรองแสงลดความร้อน
ฟิล์มกรองแสง
1. ลดแสงจ้า ลดความร้อน และป้องกันรังสียูวี
การติดฟิล์มกรองแสงนั้น สามารถลดความร้อนจากแสงแดดไม่ให้ผ่านเข้ามาภายในตัวอาคารได้ และป้องกันรังสียูวี ที่จะเป็นอันตรายต่อผิวและดวงตา ปกป้องเฟอร์นิเจอร์ไม่ให้ขีดจางจากรังสียูวี สร้างบรรยากาศเย็นสบายและป้องกันผิวหมองคล้ำและการเกิดฝ้าริ้วรอย
2. ลดภาระค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้า เมื่อเราติดฟิล์มกระจกของตัวอาคารแล้ว การป้องกันไม่ให้ความร้อนผ่านเข้าไปนั้น ช่วยให้เครื่องปรับอากาศไม่ทำงานหนัก เพราะอุณหภูมิที่ลดลงจากการติดฟิล์มกันร้อนนั้น ทำให้ระบบปรับอากาศกินไฟน้อยลง สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าที่เกิดจากระบบปรับอากาศได้ 10-15%
3. สร้างความโดดเด่นทันสมัยให้แก่อาคารที่ติดฟิล์ม อาคารที่ติดฟิล์มกรองแสง จะมีความสวยงามโดดเด่นขึ้นมาจากเงางามของฟิล์มกรองแสงชนิดต่างๆ ซึ่งท่านสามารถเลือกสีของฟิล์ม เพื่อให้เหมาะกับอาคารหรือองค์กรของท่าน
4. สร้างความเป็นส่วนตัว โดยไม่บดบังทัศนียภาพ
5 .ช่วยลดอันตรายจากการแตกกระจายของกระจก
ฟิล์มนิรภัย
1. ป้องกันการแตกกระจายของกระจก ยึดกระจกไม่ให้แตกร้าว ลดอุบัติเหตุที่เกิดจากการบาดของกระจกที่แตก
2. ช่วยลดระยะเวลาในการทุบทำลายเมื่อถูกกระแทกด้วยของแข็ง โดยระยะเวลาจะขึ้นอยู่กับความหนาของฟิล์มนิรภัย (มิล)
ฟิล์มตกแต่ง
1. เพิ่มความสวยงามให้กระจก
2. สร้างความเป็นส่วนตัว เป็นสัดส่วน
3. ลดแสงรบกวนจากภายนอก
ฟิล์มรถยนต์
1. ลดความร้อนจากแสงแดด
2. ช่วยลดแสงจ้า ในภาวะที่แดดจัดๆ ถนอมสายตา
3. ป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเลตจากแสงแดด ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้ผิวเป็นฝ้า ตกกระ
4. ช่วยชลอการซีดจางและเสื่อมสภาพของวัสดุอุปกรณ์ตกแต่งภายในรถยนต์
5. ช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องปรับอากาศ เพราะทำให้แอร์ทำงานน้อยลง ซึ่งจะช่วยประหยัดน้ำมันได้อีกทางหนึ่งด้วย
6. ช่วยลดอันตรายจากการแตกกระจายของกระจกรถยนต์ในเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ
▣ จะติดฟิล์มอาคารกรองแสงหรือ ติดม่านดี ?
การติดม่านกันแดด นั้นสามารถเพิ่มความสวยงาม ความเป็นส่วนตัวให้แก่ห้องของท่านได้ เพราะท่านสามารถเลือกเปิดหรือปิดได้ว่าจะให้แสงเข้ามากน้อยเพียงใด และ สามารถลดความร้อนจากแสงแดดได้บางส่วน แต่ม่านกันแดดโดยทั่วไปแล้ว จะไม่สามารถกันรังสีอินฟราเรดหรือรังสีความร้อนที่เกิดจากดวงอาทิตย์ได้ เพราะฉะนั้นการติดฟิล์มกรองแสง จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการลดความร้อนและลดแสงจ้าภายในห้องได้
หลายๆ คนที่ไม่ชอบการติดรับติดฟิล์มอาคาร ด้วยความเข้าใจที่ว่าฟิล์มกรองแสงจะบดบังทัศนะวิสัย มืด หรือสะท้อนแสงมากเกินไป แต่ด้วยเทคโนโลยีการผลิตฟิล์มสมัยใหม่ ทำให้ฟิล์มมีความหลากหลาย มีทุกแบบทุกประเภทให้ทุกท่านได้เลือกให้ตรงกับความต้องการท่าน
ฟิล์มกรองแสงบางประเภทจะมีความใส แต่สามารถกันความร้อนได้ดีมาก ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคนที่คิดจะติดฟิล์มลดความร้อน แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด การติดทั้งรับติดฟิล์มอาคารกรองแสง และติดทั้งม่านกันแดด จะสามารถกันร้อนและกันแสงได้ดีที่สุด TEL : 02-0015817Share this post >>
▣ วิธีดูแลหลังติดฟิล์มอาคาร
ฟิล์มแต่ละประเภทแต่ละยี่ห้อ จะมีระยะเวลาการรับประกันต่างกัน ตั้งแต่รับประกัน 7ปี / 8ปี / 12 ปี / 15 ปี หากดูแลไม่ถูกวิธีก็อาจจะทำให้อายุการรับประกันฟิล์มติดอาคารหรือฟิล์มติดรถ มีคุณภาพลดลงได้
โดยปกติแล้วเวลาติดตั้งฟิล์มอาคาร หรือรถยนต์นั้นจะมีการใช้น้ำยาติดตั้ง ฉีดลงไปบนกระจกที่ติดตั้งพร้อมกับบนกาวของแผ่นฟิล์ม เพื่อให้สามารถเลื่อนขยับฟิล์มกรองแสงได้ตามความต้องการ เสร็จแล้วจึงรีดออกด้วยเครื่องมือรีดน้ำยาแบบต่างๆ อาจจะทำให้เกิดน้ำขังอยู่ระหว่างแผ่นฟิล์มกับกระจกได้ ทำให้มองดูไม่ชัดเจน ถือเป็นเรื่องปกติ อาการเหล่านี้จะหายไปเอง ภายในเวลา 1-4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความหนาของฟิล์ม และสภาพอากาศ
ซึ่งในช่วงยะระเวลาระหว่าง 1-4 สัปดาห์นี้ ไม่แนะนำให้ใช้ผ้าเช็ดลงบนแผ่นฟิล์ม หรือมีการขยับกระจก เพราะอาจจะทำให้ฟิล์มอาคารเลื่อนออกจากตำแหน่งเดิมได้ หากมีปัญหาอื่นใด เช่น มีฟองอากาศ หรือ ฟิล์มอ้า ให้รีบติดต่อศูนย์บริการภายในระยะเวลารับประกัน
เมื่อฟิล์มอาคารแห้งสนิทและกาวยึดติดกระจกแล้ว มีข้อควรระวังดังนี้
1. ห้ามใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ , ผ้าหยาบ , ขนแปรง , สก็อตซ์ไบรต์ หรือวัสดุอื่นๆ เช็ดลงบนเนื้อฟิล์มกรองแสง โดยปกติตัวเนื้อฟิล์มจะถูกเคลือบด้วยสารกันรอยขีดข่วนอยู่แล้ว เนื้อวัสดุที่หยาบอาจจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ฟิล์มกรองแสงได้
2. แนะนำให้เช็ดด้วยผ้าไมโครไฟเบอร์ชุบน้ำ เช็ดเบาๆลงบนแผ่นฟิล์มก่อนเช็ดทำความสะอาด ควรตรวจสอบเสมอว่าในผ้าหรือทิชชูใดๆที่ใช้ ไม่มีผงฝุ่นหรือเม็ดทรายในผ้า
3. ห้ามเช็ดล้างด้วยน้ำยาล้างกระจกที่มีส่วนผสมของสารแอมโมเนีย เช็ดทำความสะอาดฟิล์มโดยเด็ดขาด น้ำยาแอมโมเนียจะทำให้ฟิล์มแข็งกระด้าง และลดอายุการ
▣ กฎหมายเกี่ยวกับฟิล์มกรองแสง
ติดฟิล์มรถยนต์เข้มเกิน 40% ผิดหรือไม่?
เริ่มตั้งแต่ปี 2538 เนื่องจากมีความกังวลว่าความเข้มของฟิล์มจะมีส่วนในเรื่องของอาชญากรรมและความปลอดภัยในการขับขี่ก็เลยมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. 2522 โดยมีเนื้อหาสำคัญว่าห้ามติดฟิล์มที่มีแสงส่องผ่านน้อยกว่า 40% และห้ามติดฟิล์มเกินพื้นที่ 25% ของกระจกบังลมหน้า แต่รัฐบาลยังให้ผ่อนผันและปรับตัวไปอีก 3 ปีก็คือเริ่มบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน 2541
พอเวลาผ่านไปเรื่องการบังคับใช้ก็ยังคงเป็นไปด้วยความยากลำบาก ไม่ว่าข้อจำกัดในเรื่องของอุปกรณ์วัดค่าและอื่นๆ ก็เลยมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 32 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. 2522 อีก โดยมีเนื้อหาสำคัญคือเลื่อนวันบังคับใช้ไปเป็น 1 มิถุนายน 2543 แทน
เมื่อถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2543 ทางรัฐบาลก็เริ่มเอาจริงโดยมติคณะรัฐมนตรีให้เริ่มบังคับใช้แต่ให้เวลา 1 ปีในการทำความเข้าใจและประชาชนและผู้ประกอบการปรับตัว สรุปเริ่มจริงๆ 1 มิถุนายน 2544
แต่การปฎิบัตินั้นไม่ได้ง่ายบวกกับบ้านเราก็เป็นเมืองร้อน จะไปทำแบบฝรั่งก็ไม่ได้ ดังนั้นในวันที่ 1 พฤษาภาคม 2544 ทางคณะรัฐมนตรีก็เลยอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ คือยกเลิกกฎกระทรวงเกี่ยวกับฟิล์มกรองแสงครับด้วยเหตุผลต่างๆเช่น เรื่องของความไม่พร้อมของอุปกรณ์ตรวจวัด เรื่องความไม่พร้อมของสถานตรวจสภาพรถ เรื่องค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากเปลี่ยนฟิล์มและที่สำคัญยังไม่มีการศึกษาเพียงพอว่าความเข้มของฟิล์มมันมีผลต่ออาชญากรรมและอุบัติเหตุมากน้อยแค่ไหน
และในวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 ก็ได้ออกมาเป็นกฎกระทรวง ฉบับที่ 38 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. 2522 ที่ได้ยกเลิกเรื่องเกี่ยวกับข้อกำหนดความเข้มของฟิล์มกรองแสงและพื้นที่ของกระจกบังลมหน้าที่ห้ามติดฟิล์มสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล
สรุปคือติดฟิล์มดำไม่ผิด
แต่อย่างไรก็ตามการติดฟิล์มกรองแสงที่ฉาบปรอทนั้น มีความผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์ ฯ
ดังนี้ ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 รถใดที่จดทะเบียนแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่า รถนั้นมีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถไม่ครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกระทรวง หรือเพิ่มเติมสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย หรือจิตใจของผู้อื่นห้ามมิให้ผู้นั้นใช้รถจนกว่าจะจัดให้มีถูกต้องครบถ้วนหรือเอาออก มาตรา 60 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 12 วรรคหนึ่ง ... ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
▣ มาตรฐานฟิล์มประหยัดพลังงานเบอร์ 5
ฟิล์มกรองแสงที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฟิล์มประหยัดพลังงานเบอร์ 5 ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ในการทดสอบฟิล์มกรองแสงในประเทศไทย โดยศูนย์วิจัยและปฏิบัติการทดสอบพลังงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมเครื่องจักรอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงานโดยการติดฉลาก ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
สำหรับเกณฑ์ในการคัดเลือกฟิล์มอาคารที่จะได้รับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ก็คือ เกณฑ์การวัดค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านความร้อนจากแสงอาทิตย์ หรือ SHGC (Solar Heat Gain Coefficient) ที่ต้องมีค่าต่ำกว่า หรือเท่ากับ 0.45